• ก. การเลี้ยงสุกรเนื้อ (สุกรขุน)1. การเริ่มต้นและการเตรียมการ การเลี้ยงสุกรเพื่อขุนขายเป็นสุกรเนื้อ อาจ จะเริ่มโดยการซื้อลูกหมูหย่านมมาเลี้ยง (น.น. 10-15 ก.ก.) โดยการเลือกลูกหมูที่มีโครงกระดูกใหญ่ เส้นท้องตรง เส้นหลังโค้งงาม ตัวยาว ขาตรง แข็งแรง คางกว้างใหญ่ ขนและหนังละเอียดเป็นมัน ตาใสไม่ขุ่นมัว ไม่เป็นไส้เลื่อน (สะดือไม่จุ่น) ลูกสุกรตัวผู้หย่านมขนาดนี้ อาจจะตอนมาแล้ว หรือยังไม่ตอน ถ้ายังไม่ตอนก็ควรทำการตอนโดยด่วน สำหรับลูกสุกรตัวเมียไม่จำเป็นต้องตอน เมื่อซื้อลูกสุกรหย่านมมาแล้ว ก็ทำการถ่ายพยาธิ (เช่นใช้ยาปิเปอร์ราซีน แบน­มินท์ เวอร์บาน เฟซีน ฯลฯ) หลังจากนั้นอีก 1 อาทิตย์ ก็ควรฉีดวัคซีนป้องกันโรคอหิวาต์สุกร (ถ้าเจ้าของเดิมยังไม่ฉีด)

    2. พันธุ์สุกรที่ควรใช้ ควรเป็นลูกสุกรผสม 2 หรือ 3 สายเลือดจะดีกว่าลูกสุกรพันธุ์แท้ 100% เพราะสุกรลูกผสมเช่นระหว่างลาร์จไวท์กับแลนด์เรซ หรือลาร์จไวท์ แลนด์และดูร็อค จะเลี้ยงง่าย โตเร็ว และทนต่อสภาพดินฟ้าอากาศมากกว่าสุกรพันธุ์แท้สายเลือดเดียวโดย เฉพาะสภาพบ้านเรา และเมื่อผู้เลี้ยงยังไม่มีความชำนาญพอ ขอแนะนำให้เริ่มต้นด้วยสุกรลูกผสม

    3. โรงเรือนและอุปกรณ์ โรงเรือนสำหรับเลี้ยงหมูขุน อาจทำง่าย ๆ โดยใช้ไม้ กลมขนาดแขนตียืนห่างกัน 3 นิ้ว เพื่อกั้นเป็นฝาคอก ขนาดกว้างยาวตามชอบ เช่น 3×4 เมตรหรือ 4X4 เมตร มีประตูเข้าออก หลังคาอาจมุงด้วยจากหรือใบซิเหรง และมุงเพียงด้านหน้าคอกไปทางหลังเพียง 2 ใน 3 เว้นด้านหลังให้หมูถูกแสงบ้าง พื้นคอกควรเทคอนกรีต เพื่อกันหมู่ขุดดินเป็นหลุมบ่อ คอกขนาค 3×4 เมตร สามารถเลี้ยงลูกหมูหย่านมได้ 12-15 ตัว เมื่อหมูโตขึ้นก็ควรแยกไปเลี้ยงคอกอื่น โดยเลี้ยงไวคอกละ 6-7 ตัว และจัดให้หมูที่มีขนาดและนํ้าหนักพอ ๆ กันอยู่ด้วยกัน อุปกรณ์อื่น ๆ ได้เเก่รางน้ำ รางอาหาร รางอาหารอาจทำเองด้วย ไม้กระดาน (1×8 นิ้ว) โดยทำเป็นรางรูป 3 เหลี่ยม หรือสี่เหลี่ยมก็ได้ รางนํ้าควรทำด้วยคอนกรีฅ เป็นรูปกลมหรือเป็นรางสี่เหลี่ยมก็ได้และต้องมีเนื้อที่รางอาหาร รางน้ำเพียงพอสำหรับหมูทุกตัว

    4. อาหาร อาหารสำหรับสุกรขุน อาจใช้อาหารถุงสำเร็จรูปจากบริษัท หรือซื้อหัวอาหารเข้มข้น (มีโปรตีน 36% มาผสมเอง หรือจะซื้อวัตถุดิบต่าง ๆ มาแล้วผสมเองทั้งหมด ถ้าซื้ออาหารสำเร็จรูปมาเลี้ยง อาจจะไม่ค่อยมีกำไร แต่ถ้าราคาหมูดีก็อาจจะมีกำไรบ้าง ในสภาพปัจจุบันเกษตรกรหาซื้อวัตถุดิบได้ยาก และอาจมีไม่สม่ำเสมอ เช่น ข้าวโพด กากถั่ว ปลาป่น ใบกระถิน แร่ธาตุ ไวตามิน แต่ทว่าในท้องทีทุกแห่งมักจะมีรำ ปลายข้าวอยู่เสมอ ดังนั้น จึงขอแนะนำให้เกษตรกรซื้อหัวอาหารเข้มข้น เช่น หัวอาหารหมูรวม (โปรตีน 34-36%) มาผสมกับรำ ปลายข้าว หรือข้าวโพด ถ้ามีกากเมล็ดยางพารา หรือมันสำปะหลังก็อาจใส่ลงในสูตรอาหารด้วย แต่จะต้องเตรียมสูตรอาหารให้มีเปอร์เซ็นต์โปรตีนเพียงพอ เช่น ลูกหมูหย่านมก็ควรจะได้รับโปรตีน 18% หมูรุ่นใช้อาหารที่มีโปรตีน 15-16% หมูขนาด 50-60 ก.ก. มีโปรตีน 13-14%และหมูขนาด 60-100 ก.ก. ให้มีโปรตีน 12-13%

    ตัวอย่างสูตรอาหาร (เมื่อใช้หัวอาหารหมูรวมโปรตีน 36%)

    สูตร 1    สูตร 2      สูตร 3     สูตร 4

    รำละเอียด                                 35           40             45           36

    ปลายข้าว(หรือข้าวโพด)            35           40             45          37

    กากเมล็ดยาง                                                                          20

    หัวอาหาร(โปรตีน 36%)           30          20            10             7

    รวม น.น. 100        100         100         100

    % โปรตีน                                18            15         13            13

    การให้อาหารแก่สุกรขุน นิยมให้วันละ 2 เวลา คือเช้าและเย็น โดยให้หมูกินจนอิ่ม โดยเฉลี่ยลูกหมูหย่านมจะกินอาหารตัวละ 0.5 ก.ก./วัน หมูรุ่น 1-1.5 ก.ก./วัน หมูใหญ่ 2.5 3 ก.ก./วัน และควรจะให้สุกรได้รับน้ำสะอาดเพียงพอตลอดเวลา การอาบน้ำไม่จำเป็น แต่ถ้าวันไหนอากาศร้อนจัดอาจอาบนํ้าก็ได้ นอกจากนี้ควรตัดผักหรือหญ้าให้สุกรกินบ้าง เช่นหัวมันเทศ ใบแค หญ้าขน หญ้าเนเปียร์ สาหร่าย ฯลฯ

    . การเลี้ยงสุกรพันธุ์

    การเลี้ยงสุกรพ่อพันธุ์แม่พันธุ์ เพื่อเอาลูกไว้ทำพันธุ์ หรือเพื่อผลิตลูกสุกรพันธุ์แท้และลูกสุกร 2-3 สายเลือดไว้จำหน่าย เป็นงานที่ยุ่งยากและต้องใช้ความรู้และเครื่องมืออุปกรณ์หลายอย่าง

    1. การเริ่มต้นและเตรียมการ การเลี้ยงสุกรพันธุ์จะต้องเริ่มด้วยสุกรพันธุ์ดี โดยอาจจะเริ่มจากการซื้อลูกหมูหย่านม (น.น. 10-15 ก.ก.) หมูรุ่นหมูสาว หรือแม่หมู (อุ้มทอง) ก็ได้ ลูกหมูพันธุ์ที่ดีจะต้องมีลักษณะตรงตามพันธุ์ มีโครงกระดูกใหญ่ เส้นท้องตรง เส้นหลังโค้งงาม ตัวยาว ตะโพกใหญ่ ขาตรง แข็งแรง คางกว้างใหญ่ ขนและหนังละเอียดเป็นมัน

    ตาใสไม่ขุ่นมัว ไม่เป็นไส้เลื่อนหรือสะดือจุ่น มีเต้านมมาก (l4-16 เต้า) และหัวนมวางเรียงได้ ระยะ มีขนาดเท่า ๆ กันอย่างสม่ำเสมอ เมื่อซื้อลูกสุกรหย่านมมาแล้วก็ทำการถ่ายพยาธิ หลังจากนั้นอีก 1 อาทิตย์ ก็ควรฉีดวัคซีนป้องกันโรคอหิวาต์สุกร (ถ้าเจ้าของเดิมยังไม่ได้ฉีด)

    2. พันธุ์สุกรที่ควรเลี้ยง

    2.1 พันธุ์ลาร์จไวท์ เป็นพันธุ์สุกรสีขาว หูตั้ง ร่างสูง ตัวยาวใหญ่ ให้ลูกดก โตเร็ว แข็งแรง มีอัตราการแลกเนื้อสูง คุณภาพซากดี

    2.2 พันธุ์แลนด์เรซ เป็นสุกรพันธุ์สีขาว มีใบหูใหญ่ และหูปรก ตัวใหญ่ ลำตัวยาวและลึกมาก สะโพกใหญ่ ร่างเตี้ย ขาสั้น ให้ลูกดก และเลี้ยงลูกเก่ง โตเร็ว อัตราการแลกเนื้อสูง คุณภาพซากดี มันบาง มีเนื้อแดงมาก แต่มีข้อเสียว่าขามักจะอ่อน เพราะตัวโตนํ้าหนักมาก

    2.3 พันธุ์ดูร๊อกเจอร์ซี่      เป็นสุกรที่มีขนาดใหญ่ มีผิวและขนสีน้ำตาล

    แดง หูขนาดกลาง ปรกไปข้างหน้าเล็กน้อย ลำตัวอ้วนสั้นกว่าลาร์จไว้ท์ แต่มีความแข็งแรง โตเร็ว และทนทานต่อสภาพของดินฟ้าอากาศเมืองไทยดีกว่าสองพันธุ์ที่กล่าวแล้ว จึงเหมาะที่จะนำมาผสมกับพันธุ์ลาร์จไว้ท์ และแลนด์เรซ เพื่อทำสุกร 2 และ 3 สายเลือด

    3. โรงเรือนและอุปกรณ์ โรงเรือนสำหรับเลี้ยงสุกรพันธุ์อาจเป็นโรงเรือนมุงจาก สังกะสีหรือกระเบื้องก็ได้ แต่เพื่อความถาวร ควรทำด้วยคอนกรีตหรือก่ออิฐฉาบปูน โรงเรือนที่สำคัญ ๆ คือโรงเลี้ยงพ่อพันธุ์แม่พันธุ์ โรงเลี้ยงลูกสุกรหย่านม ที่เก็บอาหาร วัสดุอุปกรณ์ และอาจมีคอกเลี้ยงสุกรป่วย โรงเรือนควรสร้างไปตามแนวตะวันตก-ออก อาจจัดให้มีทางเดิน ตรงกลางกว้าง 1 เมตร สองข้างเป็นคอกสำหรับเลี้ยงแม่พันธุ์และพ่อพันธุ์ คอกเลี้ยงแม่พันธุ์ ควรกว้างขนาด 2×3 เมตร ซึ่งจะใช้เป็นที่ผสมพันธุ์ก็ได้ และสำหรับให้แม่สุกรคลอด และก็เลี้ยงลูกอ่อนที่นี่ด้วย ถ้าใช้ไม้กลมกั้นคอก จะต้องกั้นในแนวยืนให้คอกสูงประมาณ 1 -1.20 เมตร มีประตูเข้าออกพร้อม ถ้ากั้นด้วยอิฐบล๊อก ก็ต้องฉาบปูนใส่เสายึดให้เเข็งแรง พื้นคอกควรเทพื้นคอนกรีตให้ลาดเอียงมากไปทางด้านหลัง และมีรูระบายน้ำ/มูล 1 ช่อง ซึ่งลูกสุกรวิ่งออกไปไม่ได้ อุปกรณ์ภายในคอก ก็มีรางนํ้า รางอาหาร รางน้ำควรวางไว้ด้านหลังคอก และวางราง อาหารไว้ด้านหน้าใกล้ทางเดินกลาง

    อุปกรณ์และเคมีภัณฑ์อื่น ๆ สำหรับการเลี้ยงสุกรเพื่อผลิตลูกจำหน่าย ได้แก่เข็มฉีดยา กรรไกรหรือมีดตัดสายสะดือ คีมตัดเขี้ยวลูกสุกร คีมตัดใบหูเพื่อทำเบอร์สุกร ยาทิงเจอร์ ไอโอดีนไว้ทาแผลและสายสะดือ ใบมีดผ่าตัดไว้ตอนสุกร ยารักษาแผลและกันแมลงวัน เช่นเนกาซันท์ ด้วยสำหรับผูกสายสะดือ น้ำยาฆ่าเชื้อ ยาเสริมธาตุเหล็ก เช่น ไอออน เด็กซแตรน, ไฟเด็กซ์ ฯลฯ ยายัดช่องคลอด เช่น ยูโตซีล ยากันโรคขี้ไหล ปอดบวม และอื่น ๆ เช่น อ๊อกซีเตตราไซคลิน ยาเทอร์รามัยซิน ฟาร์โมซิน ยาถ่ายพยาธิ ยาซัลฟาและอื่น ๆ

    4. อาหารและการเตรียมอาหาร

    ความต้องการทางอาหารของสุกรตามขนาดและอายุต่าง ๆ มีดังตารางต่อไปนี้

    อาหารที่ใช้เลี้ยงสุกรพันธุ์อาจใช้อาหารถุงสำเร็จรูปจากบริษัท ซึ่งเขาทำมาและมีโปรตีนในระดับต่าง ๆ ผู้เลี้ยงก็เลือกใช้อาหารตามขนาดและระยะต่าง ๆ ที่สุกรเป็นอยู่ การใช้อาหารสำเร็จรูปสะดวกและรวดเร็ว แต่ถ้าอาหารแพง ราคาลูกสุกรต่ำก็อาจจะขาดทุนได้ ดังนั้นบางคนก็ซื้อหัวอาหารเข้มข้นมาผสมกับวัตถุดิบในทองถิ่น หรือฟาร์มใหญ่ ๆ ส่วนมากจะซื้อวัตถุดิบ (รำ ข้าวโพด กากถั่ว ปลาป่น ไวตามิน ฯลฯ) มาผสมเองในฟาร์มสำหรับเกษตรกรทั่ว ๆไป ขอแนะนำให้ซื้อหัวอาหารเข็มข้นสำหรับหมูรวม (โปรตีน 36%) มาใช้ แล้วผสมกับรำ ปลายข้าว หรือข้าวโพด แต่สำหรับสุกรพันธุ์ โปรตีนจะต้องไม่ต่ำกว่า 14% และแนะนำให้ใช้ข้าวโพดแทนปลายข้าว เพราะข้าวโพดมีแคโรทีน หรือไวตามินเอสูงมาก จะทำให้สุกรผสมพันธุ์และมีลูกดกดีแต่ถ้าท่านเกรงว่าสุกรจะขาดแร่ธาตุและไวตามิน ท่านอาจจะซื้ออาหารเสริมพวกแร่ธาตุและไวตามินมาเติมลงบ้าง (เติมลงในอาหารสูตร 1,2 ข้างต้น)

    5. การเลี้ยงดูสุกรพันธุ์ และการปฏิบัติตามวงจร

    5.1 การให้อาหารแก่สุกรพันธุ์ นิยมให้วันละ 2 เวลา คือเช้าและเย็น โดยให้สุกรกินจนอิ่ม โดยเฉลี่ยลูกสุกรหย่านมจะกินอาหารตัวละ 0.5 ก.ก./วัน ต้องจัดน้ำสะอาดให้กินเพียงพอ และอาจให้กินผักสดบ้าง

    5.2 หมูรุ่น จะกินอาหารตัวละ 1-1.5 ก.ก./วัน และหมูสาวจะกินตัวละ 1.5- 2.5 ก.ก./วัน การเลี้ยงดูสุกรพันธุ์ต้องระวังอย่าให้อ้วนเกินไป เมื่อน้ำหนักได้ประมาณ 30-40 ก.ก. จะต้องเริ่มจำกัดและควบคุมอาหาร คือต้องเลี้ยงให้มีสุขภาพสมบูรณ์ แต่ต้องไม่อ้วนหรือผอมเกินไป

    5.3 เมื่อสุกรสาวมีขนาดน้ำหนักประมาณ 80-90 กิโลกรัม(อายุ 8-9 เดือน) ควรจะเริ่มทำการผสมพันธุ์ ก่อนการผสมพันธุ์ 1 อาทิตย์ ควรให้อาหารเพิ่มขึ้นเล็กน้อยเพื่อเร่งการเป็นสัดและช่วยให้ลูกดก พ่อพันธุ์ที่ใช้จะต้องมีอายุพอๆ กัน หรือมากกว่า ถ้าจะใช้พ่อพันธุ์เดียวกันกับแม่จะต้องดูว่าพ่อตัวนั้นมาจากคนละฝูงหรือคนละสายเลือด (ไม่ควรให้พี่ ๆ น้องๆ ผสมกัน)

    หมูที่เป็นสดและต้องการผสมพันธุ์จะมีอวัยวะบวมแดง และอาจจะมีน้ำเมือก ไหลออกมาจากช่องคลอดด้วย นอกจากนั้นแม่หมูจะร้องกระสับกระส่ายชอบ ปีนป่าย และพยายามจะกระโดดคอกไปหาตัวผู้ ระยะที่ควรผสมก็คือเมื่ออา การบวมของแคม (Vulva) ลคลงเล็กน้อย หรือเมื่อใช้มือกดที่หลังแม่หมู ถ้าแม่หมูยืนนิ่ง ตาเหม่อลอย หูตั้งชัน ปากเคี้ยวจับ ๆ และครางเบา ๆ ตอนนั้นแหละเป็นช่วงที่ควรทำผสมพันธุ์ การผสมพันธุ์ ควรผสม 2 ครั้งเช่น ตอนเช้าตรู่ 1 ครั้งและตอนเย็นอีก 1 ครั้งหรือผสมในตอนเย็น ๆ 1 ครั้ง และตอนเช้าของวันถัดไปอีก 1 ครั้งจะได้ลูกดกมากขึ้น แต่ไม่ควรให้พ่อหมูหนุ่มผสมพันธุ์เกิน 2 ครั้งต่อวัน หรือเกิน 8 ครั้งต่อสัปดาห์ แม่หมูที่ผสมติดแล้วจะตั้งท้องนาน 114 วัน (3 เดือน 3 อาทิตย์ 3 วัน) จึงจะคลอด ถ้าแม่หมูตัวใดผสมไม่ติดก็จะกลับเป็นสัดอีกภายใน 21 วัน

    5.4 สุกรสาวที่ตั้งท้องหรือแม่สุกรที่ท้อง จะยังไม่ต้องการอาหารมากขึ้นในระยะแรก ๆ ต้องเลี้ยงไม่ให้อ้วนหรือผอมเกินไป โดยปกติในขณะตั้งท้องอ่อนๆ จนถึง 90 วัน ควรให้อาหารแก่แม่สุกรวันละ 2-2.5 ก.ก. และควรให้หญ้าสดบ้างเพื่อป้องกันมิให้ท้องผูก หลังจากท้องได้ 90 วัน ต้องเพิ่มอาหาร ให้มากขึ้นเป็น 3-3.5 ก.ก. เพราะลูกในท้องกำลังเติบโต

    5.5 ก่อนคลอด 3-4 วัน ควรใช้ยาฆ่าเชื้อ เช็ดหรืออาบให้ทั่วแม่สุกร ทำ ความสะอาดคอก และเตรียมอุปกรณ์ทำคลอด ในระยะนี้ต้องลดอาหารของแม่ลง เพื่อให้คลอดง่ายและควรให้กินน้ำอย่างเพียงพอ อีก 1 วันก่อนคลอดควรหาฟางแห้ง ๆ มาใส่ไว้ในคอกบาง อาการของแม่หมูใกล้คลอด เป็นดังนี้คือ

    5.5.1 อวัยวะเพศบวมแดงและขยายใหญ่ ต่อมาจะค่อย ๆ เหี่ยวลง

    5.5.2 ท้องมีขนาดใหญ่โตมาก เดินอุ้ยอ้าย แม่หมูชอบนอน หรือลุกมา หาฟางและหญ้าทำรัง

    5.5.3 ตัวร้อนและหายใจเร็ว

    5.5.4 เมื่อใกล้คลอดเต็มที่ แม่หมูจะนอนลงและหายใจเร็ว

    5.5.5 ลองบีบหัวนมดูถ้ามีน้ำนมไหลออกมาแสดงว่าจะคลอดภายใน 5-8ช.ม.

    5.5.6 ในวันคลอดนี้ไม่ต้องให้อาหาร ให้แต่น้ำอย่างเดียว

    5.6 ก่อนที่แม่หมูจะคลอด ควรเตรียมลังไม้ (ขนาดลังใส่ปลา) ไว้ 1 ลัง ข้างในด้านพื้นบุด้วยกระสอบป่าน และมีหลอดไฟขนาด 60 แรงเทียน 1 ดวง (ถ้าไม่มีไฟฟ้าอาจจะใช้ตะเกียงรั้วแทน) สำหรับกกลูกสุกร ด้านบนใช้ฝา หรือกระสอบป่านปิดด้วย       ‘

    เมื่อลูกหมูคลอดออกมาแล้ว ต้องช่วยทำความสะอาดตัวลูกหมู โดยการใช้ผ้าเช็ดตัวให้แห้ง รีบเช็ดปาก จมูก และเยื่อเมือกต่าง ๆ ช่วยให้ลูกหมูได้หายใจโดยเร็ว แล้วรีบมัดสายสะดือห่างจากตัว 1 นิ้ว ตัดด้วยกรรไกร แล้วทาแผลด้วยยาทิงเจอร์ นำลูกหมูไปไว้ในลังไม้ เปิดไฟกกให้อบอุ่น สัก

    2-3 วัน ถ้าแม่หมูคลอดอย่างปกติ ลูกตัวที่ 2 ควรจะออกมาใน 5-10 นาที

    ต่อมา บางคนอาจใช้ฮอร์โมนอ๊อกซีโตซิน ฉีดเข้ากล้ามแม่หมู 2 ซี.ซี. เพื่อเร่งให้คลอดเร็ว และช่วยในการขับน้ำนม

    เมื่อทำคลอดลูกหมูเสร็จหมดทุกตัวแล้วก็เริ่มตัดเขี้ยว ซึ่งมี 8 เขี้ยว (4 คู่) ตัดเขี้ยวเสร็จก็นำลูกหมูไปดูดนมแม่ ในวินาทีแรกลูกหมูจะยังดูดนมไม่เป็น เราต้องช่วยจับและเอาปากไปคาบหัวนม ในไม่ช้าลูกหมูก็จะดูดนมเป็น

    ถ้าจะทำเบอร์หรือตัดใบหูเป็นเครื่องหมาย ก็ควรรีบทำในเวลาต่อมา และถ้าจะชั่งนํ้าหนักแรกคลอดก็ควรทำทันทีหลังคลอด สิ่งสำคัญที่ต้องทำอีกอย่าง คือ การฉีดธาตุเหล็กให้ลูกสุกร ควรฉีดธาตุเหล็กในระยะ 1-3 วันหลังคลอด และฉีดเข้ากล้าม 1-2 ซี.ซี.ต่อตัว (แล้วแต่คำแนะนำของบริษัท)

    หลังจากคลอดแล้ว ต้องคอยดูว่ารกออกหมดแล้วยัง ปกติจะมี 2 รกใหญ่ๆ นำรกไปฝังหรือเผาเสีย และควรฉีดยาปฏิชีวนะให้เเม่สุกร 1 เข็ม หรือใช้ยายัดช่องคลอด (เช่นยายูโทซีล) ใส่ในช่องคลอดตัวละ 1-2 เม็ด เพื่อช่วยป้องกันโรคมดลูกและเต้านมอักเสบและช่วยให้มดลูกเข้าอู่เร็ว

    5.7 ในวันที่หนึ่งหลังคลอด อาจให้อาหารแก่แม่หมุเล็กน้อย 1-1.5 ก.ก. อย่าให้มากเพราะหมูจะผลิตน้ำนมมาก อาจทำให้ลูกหมูขี้ไหลได้ ตรวจดูเต้านม ว่ามีอาการอักเสบหรือไม่ ถ้าเป็นโรคเต้านมอักเสบ หรือไม่มีน้ำนม ต้องรีบให้ยาและใช้ผ้าชุบน้ำอุ่นประคบ อาหารที่ให้ต้องค่อย ๆ เพิ่มขึ้นวันละนิด ประมาณ 7-10 วัน จึงให้เต็มที่ คือ 3.5-5 ก.ก. และค่อย ๆ เพิ่มขึ้นเมื่อลูกสุกรดตขึ้นเป็นวันละ 5-6 ก.ก.

    ถ้าลูกหมูไม่มีน้ำนมกิน อาจต้องนำไปฝากแม่ตัวอื่นๆ ที่คลอดใกล้เคียง กัน ลูกหมูอ่อนในระยะนี้อาจเป็นโรคขี้ไหลได้ง่าย ถ้ามีลมโกรกพื้นคอกชื้น แฉะ ดังนั้นต้องคอยดูอย่าให้ลมโกรก และต้องทำให้พื้นคอกแห้ง ถ้าลูกหมู เป็นโรคขี้ไหลก็ควรใช้ยาป้ายลิ้น เช่น ฟาร์โมซิน หรือเมคาด๊อกช์เป็นต้น

    ในระยะที่ลูกหมูยังเล็กมาก เราต้องคอยจับใส่ลังไม้ หลังจากมันกินนมอิ่มแล้ว วิธีที่จะช่วยป้องกันมิให้เเม่หมูทับลูก พอลูกหมูโตขึ้นๆ ก็ค่อย ๆ ปล่อยให้อยู่กับแม่นานขึ้น ๆ ในที่สุดก็ปล่อยให้อยู่กับแม่ตลอด เมื่อลูกหมูอายุได้ 7-10 วัน ก็อาจเริ่มหัดให้กินอาหารหมูนมซึ่งมีโปรตีน 22% วิธีนuhจะช่วยให้เราหย่านมได้เร็วขึ้น คือควรหย่านมเมื่ออายุ 30-45 วัน

    เมื่อลูกสุกรอายุได้ 20 วัน ลูกตัวผู้ตัวใดที่จะไม่ใช้ทำพันธุ์ควรตอนให้หมด การตอนในระยะนี้ทำได้ง่าย และไม่ต้องเย็บแผลเพียงแค่ใช้ยาทิงเจอร์ใส่แผล และโรยด้วยยาเนกาซันท์เพื่อรักษาแผลและไล่แมลงวัน แผลก็จะหายใน 1 อาทิตย์ สำหรับแม่หมูก่อนหย่านมอาจจะผอมมากเพราะลูกดูดนมมากขึ้น ดังนั้นจึงควรเพิ่มอาหารให้มากขึ้นด้วย เมื่อหย่านมแล้วแม่สุกร จะเป็นสัดใน 1 อาทิตย์ ถ้าแม่สุกรสมบูรณ์ดีก็ผสมได้เลย ถ้ายังไม่สมบูรณ์ ก็ควรเลี้ยงให้แม่หมูสมบูรณ์เสียก่อน และเลื่อนไปผสมคราวหน้า